อักษรวิ่ง

ระบบย่อยอาหาร (The Digestion System)​

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

การเดินทางของอาหาร


ลำดับการเดินทางของอาหาร
         ลำดับการเดินทางของอาหาร
เริ่มจากปาก > ลิ้น > คอหอย > หลอดอาหาร > กระเพาะอาหาร > ลำไส้เล็ก > ลำไส้ใหญ่ > ไส้ตรง และทวารหนัก
 1. อวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร
     1.1 ตับ     มีหน้ามี่สร้างน้ำดีส่งไปเก็บที่ถุงน้ำดี 
     1.2 ตับอ่อน      มีหน้าที่สร้างเอนไซม์ส่งไปย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก 
     1.3 ลำไส้เล็ก     สร้างเอนไซม์มอลเทส ซูเครส และแล็คเทสย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก




    เอนไซม์(Enzyme) 
          เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเกิดปฎิกิริยาเคมีในร่างกาย เอนไซม์ ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า น้ำย่อย เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
          - เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
          - ช่วยเร่งปฎิกิริยาในการย่อยอาหารให้เร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฎิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้เร่งปฎิกิริยา
โมเลกุลอื่นได้อีก
          - มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฎิกิริยาชนิดหนึ่งๆ
          - เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม


 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่
          - อุณหภูมิ เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดี
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
          - ความเป็นกรด - เบส เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซินในกระเพาะอาหาร
เอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น
          - ความเข้ม เอนไซม์ที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย
การทำงานของเอนไซม์ จำแนกได้ดังนี้
          - เอนไซม์ในน้ำลาย     ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อยเป็นกลางหรือกรดเล็กน้อยจะขึ้นอยู่กับชนิดของ
น้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส
          - เอนไซม์ในกระเพาะอาหาร     ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรดและที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย
เอนไซม์ในลำไส้เล็ก     ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสและอุณหภูมิปกติร่างกาย
สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยให้มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด ดังนี้
 คาร์โบไฮเดรต เป็น กลูโคส  
 โปรตีน            เป็น  กรดอะมิโน   
 ไขมัน              เป็น  กรดไขมันและกลีเซอรอล




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น